Last updated: 27 มี.ค. 2565 | 1559 จำนวนผู้เข้าชม |
หลายคนที่เป็นเจ้าของคอนโดละเลยไม่ให้ความสำคัญกับการทำประกันคอนโด เพราะเข้าใจว่าการอยู่คอนโดจะมีประกันส่วนกลางที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมไว้ทั้งหมดแล้ว แต่เพื่อเป็นการจัดการกับความเสี่ยงของอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นส่วนตัว เจ้าของห้องคอนโด ก็อาจจะต้องมีประกันภัยอาคารชุดไว้ด้วยเช่นกัน
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การทำประกันภัยคอนโด ซึ่งเป็นลักษณะของการประกันภัยอาคารชุด มีความแตกต่างจากการทำประกันภัยที่อยู่อาศัยทั่วไปพอสมควร เนื่องจากความหมายของคอนโด หรืออาคารชุด ที่กำหนดโดยพระราชบัญญัติอาคารชุด คือ
“อาคารที่บุคคลสามารถแยกการถือกรรมสิทธิ์ออกได้เป็นส่วน ๆ โดยแต่ละส่วนประกอบด้วยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคล และกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินส่วนกลาง”
ดังนั้น กรรมสิทธิ์ของคอนโดมิเนียมจึงแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
1. กรรมสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนบุคคล หมายถึง ห้องคอนโดตามที่ระบุไว้ในโฉนด ที่ได้รับจากผู้ประกอบการเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์เรียบร้อยแล้ว ซึ่งในนั้นจะระบุถึงขนาดของห้องพัก ความกว้าง ความยาว พื้นที่ใช้สอยต่าง ๆ หรือที่ดินที่จัดไว้ให้เป็นเจ้าของในแต่ละราย รวมถึงรายละเอียดของสิ่งปลูกสร้าง เช่น ฝ้าเพดาน กระเบื้อง ระเบียง และเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ที่เป็นส่วนตัวของเรา
2. ทรัพย์สินส่วนกลาง หมายถึง โครงสร้างตัวอาคารทั้งหมด รวมถึงพื้นที่ส่วนกลาง ไม่ว่าจะเป็นสระว่ายน้ำ ห้องฟิตเนส ลิฟท์ ซึ่งพื้นที่ส่วนกลางนี้จะอยู่ในความดูแลของนิติบุคคลอาคารชุด
ส่วนผนังรอบห้องของเรามีวิธีดูว่าเป็นพื้นที่ส่วนบุคคล หรือ พื้นที่ส่วนกลาง ดังต่อไปนี้
พื้นที่บางจุดที่คาบเกี่ยวระหว่าง พื้นที่ส่วนบุคคล หรือ พื้นที่ส่วนกลาง เช่น ท่อน้ำดี ท่อน้ำทิ้ง ท่อไฟฟ้า อุปกรณ์ใต้เพดาน และ ใต้พื้นห้อง มีวิธีดูง่ายๆว่า ถ้าเราสามารถใช้ประโยชน์กับพื้นที่นั้นๆได้เพียงคนเดียว เรา ย้าย ทุบ เจาะ แล้วไม่เดือดร้อนใครให้ถือเป็นพื้นที่ส่วนบุคคล แต่ถ้าเป็นส่วนที่เราต้องใช้ประโยชน์ร่วมกันกับคนอื่นๆ พื้นที่ตรงนั้นถือเป็นพื้นที่ส่วนกลาง
ทั้งนี้ ประกันภัยอาคารชุดหรือประกันคอนโดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ประกันภัยความคุ้มครองส่วนกลางของอาคาร ที่จะให้ความคุ้มครองพื้นที่ส่วนกลางของอาคาร สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ งานโครงสร้าง และงานระบบทั้งหมด ครอบคลุมไปจนถึงเรื่องโจรกรรม อัคคีภัย น้ำท่วม หรือภัยทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อตัวอาคาร และทรัพย์สินโดยรวมทั้งหมด
2. ประกันภัยสำหรับบุคคลที่ 3 เป็นการทำประกันภัยเพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด หรือเหตุการณ์อันจะส่งผลกระทบต่อบุคคลที่ 3 ซึ่งเกิดจากปัญหาส่วนกลางของโครงการที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แถมยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อย เช่น น้ำรั่วซึมที่เกิดจากอุปกรณ์ภายในห้องเกิดปัญหา หรือเจ้าของห้องชุดหลงลืมเปิดน้ำทิ้งไว้ ท่อน้ำอุดตันจนไปกระทบเจ้าของห้องอื่น เพลิงไหม้จากการสูบบุหรี่ ปัญหาที่เกิดจากการต่อเติม ซ่อมแซม หรือตกแต่งห้อง ไฟฟ้าสายไฟภายในห้องหรือจากเครื่องใช้ไฟฟ้าลัดวงจร อันตรายอันเกิดจากก๊าซหุงต้ม ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้ถ้าเกิดขึ้นแล้วจะเกิดความสูญเสียมากทีเดียว
ตัวบ้านหรือสิ่งปลูกสร้าง (ไม่รวมฐานราก) หมายความถึง
ก. บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ บ้านแฝด ตึกแถว สำหรับอยู่อาศัย โรงรถ และอาคารย่อย เช่น เรือนคนรับใช้ เรือนครัว เป็นต้น กำแพง รั้ว ประตู รวมทั้งส่วนปรับปรุงต่อเติม ยกเว้นฐานราก
ข. ห้องชุดสำหรับอยู่อาศัยในแฟลต อาคารชุด คอนโดมิเนียม ยกเว้นฐานราก ทั้งนี้จะไม่รวมราคาที่ดินของที่ตั้งทรัพย์สิน และต้องใช้เป็นที่อยู่อาศัย เท่านั้น
ทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้าง หมายความถึง เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่ง สิ่งติดตั้งตรึงตรา เครื่องมือ เครื่องใช้ภายในบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เครื่องดนตรี เครื่องเสียง เครื่องครัว เครื่องนุ่งห่ม และทรัพย์สินอื่นๆ (ที่มิได้ระบุอยู่ในข้อยกเว้น) เพื่อการอยู่อาศัยของผู้เอาประกันภัยหรือบุคคล ซึ่งตามปกติพักอาศัยอยู่กับผู้เอาประกันภัย
ดังนั้น สำหรับการซื้อคอนโดมือหนึ่ง ให้ลองเช็คประกันคอนโดกับทางนิติบุคคลก่อน แต่ถ้าเป็นคอนโดมือสอง ก็อาจต้องเช็คกับเจ้าของห้องหรือตัวแทนขายว่าประกันครอบคลุมหรือไม่ แต่ถ้าดูโดยละเอียดจะเห็นว่าประกันภัยไม่ได้ครอบคลุมไปที่ห้องของคุณ หรือทรัพย์สินส่วนตัวของคุณแบบเฉพาะเจาะจง ดังนั้น ถ้าเกิดเรื่องคาดไม่ถึงขึ้น เช่น เหตุการณ์ไฟไหม้ในห้อง หรือข้าวของภายในห้องเกิดความเสียหาย หรือแม้แต่ถูกโจรกรรม คุณผู้เป็นเจ้าของห้องก็จะต้องรับผิดชอบเองไปเต็ม ๆ ยิ่งถ้าคุณซื้อคอนโดโดยไม่ได้ผ่านการกู้เงินจากธนาคาร ที่จะมีข้อบังคับให้คุณต้องทำประกันภัยไว้ก่อน คุณยิ่งแบกรับความเสี่ยงมากขึ้น
เราแนะนำว่าเจ้าของห้องชุดควรจะต้องทำประกันคอนโดห้องของตัวเองเอาไว้ด้วย โดยควรพิจารณา 2 เรื่องหลัก ๆ คือ
เพื่อเป็นการคุ้มครองห้อง และทรัพย์สินส่วนตัวภายในห้องของคุณเอง เมื่อเกิดเหตุสุดวิสัยคุณจะได้อุ่นใจได้ว่าทรัพย์สินทุกอย่างไม่ได้สูญสลายไปพร้อมกับกองไฟ ยิ่งถ้าคุณซื้อคอนโดเพื่อลงทุนด้วยการปล่อยเช่าก็ยิ่งอยากแนะนำให้ทำไว้ เพราะการมีผู้เช่าก็ไม่เหมือนการที่เราอยู่ดูแลห้องด้วยตัวเอง การทำประกันเหมือนการลงทุนดูแลจัดการความเสี่ยงในอนาคต ทำให้คุณมีเงินประกันมาชดใช้ค่าเสียหาย และนำมาการซ่อมแซมความเสียหายได้
แม้ว่าโครงการคอนโดมิเนียม หรือนิติบุคคลจะทำประกันภัยชนิดนี้ไว้เช่นกัน แต่เจ้าของห้องก็ควรมีประกันภัยบุคคลที่ 3 ด้วย เพราะเป็นการคุ้มครองชีวิต และความเสียหายอันเกิดจากอุบัติเหตุ หรือความประมาทที่เกิดจากเจ้าของห้องซึ่งไม่เกี่ยวกับส่วนกลาง เพราะความจริงแล้วยังมีภัยอีกมากมายที่เราต้องควรมีความคุ้มครองให้ครบ เช่น ช่างตกแต่งห้องแล้วกระทบกระเทือนผู้อื่น หรือห้องข้างเคียงได้รับความเสียหาย หรือเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ภายในห้องครัวแล้วลามกระทบไปยังห้องข้างเคียง ทั้งหมดนี้คุณต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อค่าเสียหาย ซึ่งจะดีกว่ามากถ้าคุณมีประกันภัยเตรียมพร้อมเอาไว้
จากข้อมูลที่นำมาบอกกล่าวกันคงจะเห็นแล้วว่า แม้คอนโดมิเนียมที่เราอยู่อาศัยจะมีประกันภัยเตรียมพร้อมไว้สำหรับการเกิดเหตุไม่คาดฝันอยู่แล้ว แต่ทั้งหมดก็เป็นการดูแลเฉลี่ยจากส่วนรวม ทำให้เมื่อเกิดเหตุคุณอาจไม่ได้รับการชดเชยที่เต็มเม็ดเต็มหน่วย หรือถ้าเหตุเกิดจากห้องของคุณโดยตรง คุณก็อาจไม่ได้รับความช่วยเหลือจากประกันภัยของนิติบุคคล
ดังนั้นการมีประกันคอนโดสำหรับห้องตัวเองจึงเป็นการวางแผนที่ดีที่สุด
ประกันภัยบ้านเปี่ยมสุข จากวิริยะประกันภัย คลิก >> https://bit.ly/3xddmwo
ประกันภัยรักษ์บ้าน สำหรับที่อยู่อาศัย จากกรุงเทพประกันภัย คลิก >> https://bit.ly/3icCMWC
My Happy Home Plus จากอลิอันซ์ อยุธยา คลิก >> https://bit.ly/378voFt
My Luxury Home Plus จากอลิอันซ์ อยุธยา คลิก >> https://bit.ly/3fdXdAD
Condo Sabai จากคุ้มภัยโตเกียวมารีน คลิก >> https://bit.ly/3BW6Duh
7 มี.ค. 2566
17 ต.ค. 2564
11 มิ.ย. 2565