ค่าความดันปกติแต่ละช่วงวัย ควรอยู่ที่เท่าไหร่

Last updated: 27 มี.ค. 2565  |  96275 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ค่าความดันปกติแต่ละช่วงวัย ควรอยู่ที่เท่าไหร่

ค่าความดันปกติ

ในการวัดค่าความดันโลหิตด้วย “เครื่องวัดความดัน” หลายๆ คนอาจจะเกิดคำถามที่ว่า “ระดับค่าความดันปกติ” ค่าความดันโลหิตมาตรฐาน ควรอยู่ที่เท่าไหร่ ? ซึ่งเกณฑ์ระดับความดันปกติของแต่ละช่วงวัย เพศ อายุ ก็จะมีความแตกต่างกันไป ในบทความนี้เราลองไปดูกันว่า ค่าความดันโลหิตปกติ (ค่า Blood Pressure : BP) เกณฑ์ความดันปกติของแต่ละช่วงวัยจะอยู่ที่ระดับเท่าไหร่บ้าง ขอบอกเลยว่า เรามีเป็นตารางค่าความดันปกติแต่ละช่วงวัยมาให้ดูกันด้วย

ทำความรู้จักค่าความดันโลหิต ที่อยู่บนเครื่องวัดความดัน

ค่าความดันโลหิต คือ ค่าแรงดันในหลอดเลือดขณะที่หัวใจบีบตัวและคลายตัว ซึ่งเป็นค่าที่นิยมใช้ในการตรวจสุขภาพ และประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ ให้กับผู้ป่วย โดยทั่วไปแล้วหน้าจอแสดงผลของเครื่องวัดความดันโลหิตจะแสดงค่าวัดออกมาทั้งหมด 3 ค่า คือ

SYS (Systolic) หมายถึง ค่าความดันในหลอดเลือดขณะที่หัวใจบีบตัว หรือเรียกว่า “ความดันตัวบน”

DIA (Diastolic) หมายถึง ค่าความดันในหลอดเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว หรือเรียกว่า “ความดันตัวล่าง”

PUL (Pulse Rate) หมายถึง อัตราชีพจร หรือ อัตราการเต้นของหัวใจ

ค่าความดันปกติแต่ละช่วงวัย ควรอยู่ที่เท่าไหร่

เราลองไปดูค่าความดันโลหิตปกติในแต่ละช่วงกันเลย โดยจะมีแบ่งเป็นทั้งค่าความดันปกติของผู้ใหญ่ ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง เด็ก รวมถึงผู้สูงอายุ

  • ค่าความดันปกติเด็กทารก : ไม่ควรเกิน 90/60 มิลลิเมตรปรอท

  • ค่าวัดความดันปกติเด็กเล็ก อายุ 3-6 ปี : ไม่ควรเกิน 110/70 มิลลิเมตรปรอท

  • ค่าปกติความดันโลหิตเด็กโต อายุ 7-17 ปี : ไม่ควรเกิน 120/80 มิลลิเมตรปรอท

  • ค่าความดันปกติผู้ชาย : ไม่ควรเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท

  • ค่าความดันปกติผู้หญิง : ไม่ควรเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท

  • ค่าความดันโลหิตปกติในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป : ไม่ควรเกิน 160/90 มิลลิเมตรปรอท

ในคนปกติ บนเครื่องวัดความดันจะมีค่าวัดความดันปกติไม่เกินดังนี้

– ค่าความดันปกติ SYS ไม่ควรเกิน 120 มิลลิเมตรปรอท
– ค่าความดันปกติ DIA ไม่ควรเกิน 80 มิลลิเมตรปรอท   

 

สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว และต้องได้รับการวัดความดันอย่างเสม่ำเสมอ จำเป็นต้องทราบถึง ค่าความดันปกติ ของตัวเองว่าอยู่ในช่วงไหน รวมถึงยังต้องศึกษาการอ่านค่าความดันให้ถูกต้องด้วย เพื่อที่เมื่อทำการวัดความดันแล้ว จะได้สามารถอ่านค่าต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการประเมินอาการ หรือความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอื่นๆ ทำให้สามารถรักษาอาการได้อย่างทันเวลา

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้