Last updated: 27 มี.ค. 2565 | 19714 จำนวนผู้เข้าชม |
ถ้าเกิดมีรถจอดอยู่ในส่วนของพื้นที่ห้ามจอดแล้วรถอีกคันดันขับไปชน งานนี้ใครจะผิด ใครจะต้องเป็นคนรับผิดชอบ ซึ่งเราอาจจะเจอสถานการณ์แบบนี้บ่อยๆกับประเด็นที่ว่า ขับรถไปชนรถที่จอดบริเวณทางโค้งหรือพื้นที่แคบๆ ที่ไม่สมควรจอด แบบนี้ใครจะต้องเป็นคนรับผิดชอบ
วันนี้ จะมาเล่าให้กับผู้ขับขี่ทุกคนฟังกัน เพื่อเป็นประโยชน์เมื่อเกิดเหตุบนท้องถนน เพราะในทุกการขับขี่เราไม่สามารถคาดเดาหรือรู้อนาคตได้ และที่สำคัญคือเพื่อนร่วมทางที่มีพฤติกรรมหลากหลาย ทั้งดี ทั้งร้าย ฉะนั้น เราจึงควรมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นดราม่าข้างต้น ว่าฝ่ายไหนกันแน่ที่น่าจะเป็นฝ่ายต้องรับผิดชอบ
ขอสรุปแบบสั้นๆเลยว่า คนที่ผิดเต็มๆก็คือรถคันที่พุ่งไปชนรถที่จอดอยู่นั่นเอง เพราะโดยกฎหมายแล้ว จะถือว่าฝ่ายที่ชนไม่มีความระมัดระวังหรือประมาทเอง และเป็นการทำลายทรัพย์สินของผู้อื่นด้วยความประมาทอีกด้วย
สำหรับฝ่ายที่ถูกชนอาจมีความผิดหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งไม่ใช่ความผิดต่อคู่กรณี แต่เป็นความผิดตามกฎหมายจราจร หากเป็นการจอดในที่ห้ามจอดโดยมีป้ายจราจรกำกับไว้ชัดเจน อาจจะต้องเสียค่าปรับตามกฎหมาย แต่ถ้าไม่มีป้ายจราจรกำกับไว้ ถือเป็นการจอดที่ไม่เหมาะสมเท่านั้น ฝ่ายที่ถูกชนคงไม่มีความผิดใดๆ
กำหนดว่า ห้ามผู้ขับขี่จอดรถดังต่อไปนี้
บนทางเท้า
บนสะพานหรืออุโมงค์
ในทางร่วมทางแยกหรือในระยะ 10 เมตร จากทางร่วมทางแยก
ห้ามจอดในทางข้ามหรือในระยะ 3 เมตรจากทางข้าม
ห้ามจอดรถในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอดรถ
ห้ามจอดรถ ในระยะ 3 เมตร จากท่อน้ำดับเพลิง
ห้ามจอดรถในระยะ 10 เมตร จากที่ดินตั้งสัญญาณจราจร
ห้ามจอดในระยะ 15 เมตรจากทางรถไฟผ่าน
ห้ามจอดซ้อนกันกับรถอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว
ห้ามจอดรถตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถหรือในระยะ 5 เมตร จากปากทางเดินรถ
ห้ามจอดรถในระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทางหรือในระยะ 10 เมตร นับจากปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้งสองข้าง
ห้ามจอดรถในที่คับขัน
ห้ามจอดรถในระยะ 15 เมตร ก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทางและให้จอดเลยเครื่องหมายไปอีก 3 เมตร
ห้ามจอดรถในระยะ 3 เมตรจากตู้ไปรษณีย์
ห้ามจอดรถในลักษณะกีดขวางการจราจร
ทั้งนี้ หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามทั้ง 15 ข้อ ตามมาตรา 57 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
ถ้ารถฝ่ายที่ถูกชนเป็นการจอดตรงทางโค้งหรือในจุดที่เสี่ยงต่อการถูกชนจริงๆ แม้ว่าฝ่ายผู้ชนจะรู้สึกไม่เป็นธรรม แต่การที่จะเรียกร้องความถูกต้องคงเป็นการเสียเวลาเปล่า อยากให้คิดในมุมที่ว่า ผู้ขับขี่ควรยอมรับความประมาทของตัวเราเองด้วย แม้จะรู้สึกว่าฝ่ายคู่กรณีเป็นฝ่ายที่ไม่มีวินัยจราจรหรือเป็นความมักง่ายที่จอดรถแล้วสร้างความเดือนร้อนให้คนอื่นก็ตาม เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว ควรนำมาเตือนการขับรถของเราเองให้ระมัดระวัง และควบคุมสติความหงุดหงิดใจมากขึ้นจะดีที่สุด หรือหากขัดใจจริงๆเพราะรถคันดังกล่าวจอดในที่ห้ามจอด ก็ถ่ายภาพเป็นหลักฐานและส่งให้เจ้าหน้าที่พิจารณาตามบทลงโทษต่อไป แต่ถ้าหากคุณทำประกันชั้น 1 ไว้ ก็ไม่ต้องกังวลว่าคุณจะต้องรับผิดชอบค่าความเสียหาย เพราะไม่ว่าคุณจะเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด ประกันชั้น 1 ก็คุ้มครองคุณตามเงื่อนไขของกรมธรรม์
อย่าลืมทำประกันภัยรถยนต์เพื่อความสบายใจ หากเกิดอะไรขึ้นมาจะได้มีเจ้าหน้าที่คอยช่วยเหลือและให้คำปรึกษา
สนใจทำประกันภัยรถยนต์ คลิกเลย >> https://bit.ly/3yWGeKk
17 ต.ค. 2564
11 มิ.ย. 2565
7 มี.ค. 2566