Last updated: 13 เม.ย 2565 | 1341 จำนวนผู้เข้าชม |
เนื่องจากกฎหมายบังคับให้ผู้ที่มีโดรน จำเป็นต้องทำประกันคุ้มครองบุคคลภายนอก สำหรับความคุ้มครองอุบัติเหตุ การเสียชีวิต ค่ารักษาพยาบาล และทรัพย์สินเสียหายต่อบุคคลที่ 3 วงเงินคุ้มครอง 1,000,000 บาท ใช้ได้กับโดรนทุกรุ่น ทุกขนาด ทุกแบบ ทุกยี่ห้อ
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ. 2558 ซึ่งลงประกาศตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ตามประกาศดังกล่าวได้นิยามความหมายไว้ดังนี้
“อากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก” หมายความว่า อากาศยานที่ควบคุมการบินโดยผู้ควบคุมการบินอยู่ภายนอกอากาศยานและใช้ระบบควบคุมอากาศยาน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงเครื่องบินเล็ก ซึ่งใช้เป็นเครื่องเล่นตามกฎกระทรวงกําหนดวัตถุซึ่งไม่เป็นอากาศยาน พ.ศ. 2548
“ระบบควบคุมอากาศยาน” หมายความว่า ชุดอุปกรณ์อันประกอบด้วยเครื่องเชื่อมโยงคําสั่งควบคุมหรือการบังคับอากาศยาน รวมทั้งสถานีหรือสถานที่ติดตั้งชุดอุปกรณ์เหล่านี้หรือเครื่องมือที่ใช้ควบคุมการบินจากภายนอกและตัวอากาศยานด้วย
ประเภท 1 ใช้เพื่อการเล่นเป็นงานอดิเรก เพื่อความบันเทิง หรือเพื่อการกีฬา แบ่งย่อยตามขนาด ดังนี้
ประเภท 1.ก มีน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม กำหนดให้ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานต้องมีอายุมากกว่า 18 ปี หรือมีผู้แทนโดยชอบธรรมควบคุมดูแล ซึ่งอากาศยานในข้อนี้ กระทรวงคมนาคมอนุญาตให้ทำการบินได้ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้
ประเภท 1.ข มีน้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัมแต่ไม่เกิน 25 กิโลกรัม กำหนดให้ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี ไม่เป็นผู้มีพฤติการณ์เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ ไม่เคยโดนโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายยาเสพติดหรือศุลกากร และต้องขึ้นทะเบียนต่ออธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้เหมือนประเภท 1.ก และเพิ่มเติมอย่างการบำรุงรักษาอากาศยาน ความชำนาญในการบังคับอากาศยาน ความเข้าใจในกฎจราจรทางอากาศ ต้องมีอุปกรณ์ดับเพลิงที่ใช้งานได้ติดตัว มีประกันภัยต่อบุคคลที่สาม วงเงินไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทต่อครั้ง เพิ่มระยะห่างในข้อ (ฑ) เป็นไม่น้อยกว่าห้าสิบเมตร (หนึ่งร้อยห้าสิบฟุต) เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยไม่ชักช้า
ประเภท 2 ใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจากตามประเภท 1 คือรายงานข่าว รายการโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ วิจัยและพัฒนาอากาศยาน หรือเพื่อการอื่น ๆ นั้นกำหนดขนาดไม่เกิน 25 กิโลกรัม
สำหรับอากาศยานประเภท 2 ก็ต้องขึ้นทะเบียนและปฏิบัติเงื่อนไขเช่นเดียวกับประเภท 1.ข กรณีที่ใช้เพื่อรายงานเหตุการณ์หรือรายงานจราจร (สื่อมวลชน) หรือวิจัยและพัฒนาอากาศยาน การขึ้นทะเบียนต้องเป็นนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ตามนั้น ส่วนเพื่อใช้ถ่ายภาพหรือการอื่นจะขึ้นทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลได้ โดยการขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคลต้องระบุรายชื่อผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานหรือบุคคลที่จำเป็นในการปฏิบัติการบินของอากาศยานด้วย
ทั้งนี้ หนังสือการขึ้นทะเบียนมีอายุ 2 ปีตั้งแต่วันที่ออกหนังสือ
หากผู้ใดทำกระทำความผิดต่อกฎอย่างใดอย่างหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
โดรนประเภทไหนต้องไปขึ้นทะเบียนบ้าง?
โดรนที่ติดกล้องต้องลงทะเบียนทุกกรณีไม่มีข้อเว้น
โดรนที่ไม่มีกล้องแต่น้ำหนักอยู่ระหว่าง 2 -25 กิโลกรัม ต้องขึ้นทะเบียนทุกกรณี
โดรนที่มีน้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัม ต้องลงทะเบียนทุกกรณี
โดรนที่มีน้ำหนักมากกว่า 25 กิโลกรัม ต้องได้รับการอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
สรุปง่ายๆ คือน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม ไม่ติดตั้งกล้อง ใช้สำหรับงานอดิเรก ไม่ต้องขึ้นทะเบียน แต่ถ้าติดตั้งกล้องต้องขึ้นทะเบียนทุกกรณี หรือหากไม่มีกล้องแต่มีน้ำหนักระหว่าง 2 – 25 กิโลกรัม ต้องขึ้นทะเบียน ส่วนกรณีน้ำหนักตั้งแต่ 25 กิโลกรัมขึ้นไป ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ในการขึ้นทะเบียนโดรนนั้น จะต้องขึ้นทะเบียนกับ กสทช. (เปรียบเสมือนทะเบียนรถ) และกรมการบินพลเรือน (เหมือนทำใบขับขี่) ไม่เช่นนั้นจะมีโทษปรับตามกฎหมาย โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ ดังนี้
เอกสารการขึ้นทะเบียนกับ กสทช.
คำขอขึ้นทะเบียน เครื่องวิทยุคมนาคม
สำเนาบัตรประชาชน
ภาพถ่ายตัวลำของโดรน (ปริ้นท์ใส่กระดาษมา)
เอกสารการขึ้นทะเบียนกับกรมการบินพลเรือน
คำขอขึ้นทะเบียน ผู้บังคับหรือปล่อย Drone
สำเนาบัตรประชาชน
สำเนาทะเบียนบ้าน
ใบกรมธรรม์ของประกันภัยอุบัติเหตุของโดรนต่อบุคคลที่ 3 มีวงเงินประกันไม่ต่ำกว่า 1,000,000 บาท
สรุป: ต้องไปขึ้นทะเบียนทั้ง 2 หน่วยงาน ขึ้นทะเบียนกับ กสทช อย่างเดียวในทางกฎหมายยังไม่สามารถนำโดรนขึ้นบินได้ ต้องไปขึ้นทะเบียนหรือทำใบขับขี่โดรนที่กรมการบินพลเรือนด้วย
ค่าธรรมเนียมการลงทะเบียนโดรนทั้ง 2 หน่วยงานนั้นไม่มีครับ แต่จุดสำคัญจะอยู่ตรงที่การลงทะเบียนกับกรมการบินพลเรือนจะต้องมีประกันภัยอุบัติเหตุของโดรนด้วย เหมือนการทำประกันรถยนต์ ซึ่งการที่จะได้กรมธรรม์มานั้นแน่นอนว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายให้กับบริษัทประกันภัย
ที่มา: สำนักงานการบนพลเรือนแห่งประเทศไทย
การซื้อประกันโดรนนั้นมีความสำคัญมาก เพราะนอกจากจะใช้เป็นหลักฐานในการขึ้นทะเบียนโดรนกับกรมการบินพลเรือนแล้วนั้น ยังให้ความคุ้มครองต่ออุบัติเหตุ การเสียชีวิต ค่ารักษาพยาบาล และทรัพย์สินเสียหายที่เกิดจากโดรน
ใบคำขอเอาประกันภัยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน (โดรน)
บัตรประชาชนผู้บังคับโดรน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
สำเนาหนังสือรับรองบริษัทและใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 20) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง กรณีนิติบุคคล
หลักฐานการชำระเงิน
แจ้งที่อยู่จัดส่งกรมธรรม์
รูปถ่ายโดรน เห็น Serial Number ชัดเจน
สนใจทำประกันภัยโดรน ติดต่อ: @prakan4u หรือคลิก >> https://lin.ee/j6sBItE
#ประกันภัยโดรน #DroneInsurance
11 มิ.ย. 2565
17 ต.ค. 2564
7 มี.ค. 2566