ทำไมต้องทำประกันภัยโดรน Drone Insurance

Last updated: 13 เม.ย 2565  |  1340 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทำไมต้องทำประกันภัยโดรน Drone Insurance

เนื่องจากกฎหมายบังคับให้ผู้ที่มีโดรน จำเป็นต้องทำประกันคุ้มครองบุคคลภายนอก สำหรับความคุ้มครองอุบัติเหตุ การเสียชีวิต ค่ารักษาพยาบาล และทรัพย์สินเสียหายต่อบุคคลที่ 3 วงเงินคุ้มครอง 1,000,000 บาท ใช้ได้กับโดรนทุกรุ่น ทุกขนาด ทุกแบบ ทุกยี่ห้อ

กฎหมายโดรนในไทย ที่เจ้าของโดรนต้องรู้

ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ. 2558 ซึ่งลงประกาศตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ตามประกาศดังกล่าวได้นิยามความหมายไว้ดังนี้

“อากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก” หมายความว่า อากาศยานที่ควบคุมการบินโดยผู้ควบคุมการบินอยู่ภายนอกอากาศยานและใช้ระบบควบคุมอากาศยาน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงเครื่องบินเล็ก ซึ่งใช้เป็นเครื่องเล่นตามกฎกระทรวงกําหนดวัตถุซึ่งไม่เป็นอากาศยาน พ.ศ. 2548

“ระบบควบคุมอากาศยาน” หมายความว่า ชุดอุปกรณ์อันประกอบด้วยเครื่องเชื่อมโยงคําสั่งควบคุมหรือการบังคับอากาศยาน รวมทั้งสถานีหรือสถานที่ติดตั้งชุดอุปกรณ์เหล่านี้หรือเครื่องมือที่ใช้ควบคุมการบินจากภายนอกและตัวอากาศยานด้วย

อากาศยานในประกาศนี้แบ่งเป็นสองประเภทตามวัตถุประสงค์คือ

ประเภท 1 ใช้เพื่อการเล่นเป็นงานอดิเรก เพื่อความบันเทิง หรือเพื่อการกีฬา แบ่งย่อยตามขนาด ดังนี้

  • ประเภท 1.ก มีน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม กำหนดให้ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานต้องมีอายุมากกว่า 18 ปี หรือมีผู้แทนโดยชอบธรรมควบคุมดูแล ซึ่งอากาศยานในข้อนี้ กระทรวงคมนาคมอนุญาตให้ทำการบินได้ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้

  • ประเภท 1.ข มีน้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัมแต่ไม่เกิน 25 กิโลกรัม กำหนดให้ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี ไม่เป็นผู้มีพฤติการณ์เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ ไม่เคยโดนโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายยาเสพติดหรือศุลกากร และต้องขึ้นทะเบียนต่ออธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้เหมือนประเภท 1.ก และเพิ่มเติมอย่างการบำรุงรักษาอากาศยาน ความชำนาญในการบังคับอากาศยาน ความเข้าใจในกฎจราจรทางอากาศ ต้องมีอุปกรณ์ดับเพลิงที่ใช้งานได้ติดตัว มีประกันภัยต่อบุคคลที่สาม วงเงินไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทต่อครั้ง เพิ่มระยะห่างในข้อ (ฑ) เป็นไม่น้อยกว่าห้าสิบเมตร (หนึ่งร้อยห้าสิบฟุต) เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยไม่ชักช้า

ประเภท 2 ใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจากตามประเภท 1 คือรายงานข่าว รายการโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ วิจัยและพัฒนาอากาศยาน หรือเพื่อการอื่น ๆ นั้นกำหนดขนาดไม่เกิน 25 กิโลกรัม

สำหรับอากาศยานประเภท 2 ก็ต้องขึ้นทะเบียนและปฏิบัติเงื่อนไขเช่นเดียวกับประเภท 1.ข กรณีที่ใช้เพื่อรายงานเหตุการณ์หรือรายงานจราจร (สื่อมวลชน) หรือวิจัยและพัฒนาอากาศยาน การขึ้นทะเบียนต้องเป็นนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ตามนั้น ส่วนเพื่อใช้ถ่ายภาพหรือการอื่นจะขึ้นทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลได้ โดยการขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคลต้องระบุรายชื่อผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานหรือบุคคลที่จำเป็นในการปฏิบัติการบินของอากาศยานด้วย

ทั้งนี้ หนังสือการขึ้นทะเบียนมีอายุ 2 ปีตั้งแต่วันที่ออกหนังสือ

หากผู้ใดทำกระทำความผิดต่อกฎอย่างใดอย่างหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

กฎการขึ้นทะเบียนอากาศยานไร้คนขับ (UAV) หรือ โดรน

โดรนประเภทไหนต้องไปขึ้นทะเบียนบ้าง?

  • โดรนที่ติดกล้องต้องลงทะเบียนทุกกรณีไม่มีข้อเว้น

  • โดรนที่ไม่มีกล้องแต่น้ำหนักอยู่ระหว่าง 2 -25 กิโลกรัม ต้องขึ้นทะเบียนทุกกรณี

  • โดรนที่มีน้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัม ต้องลงทะเบียนทุกกรณี

  • โดรนที่มีน้ำหนักมากกว่า 25 กิโลกรัม ต้องได้รับการอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

สรุปง่ายๆ คือน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม ไม่ติดตั้งกล้อง ใช้สำหรับงานอดิเรก ไม่ต้องขึ้นทะเบียน แต่ถ้าติดตั้งกล้องต้องขึ้นทะเบียนทุกกรณี หรือหากไม่มีกล้องแต่มีน้ำหนักระหว่าง 2 – 25 กิโลกรัม ต้องขึ้นทะเบียน ส่วนกรณีน้ำหนักตั้งแต่ 25 กิโลกรัมขึ้นไป ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

ต้องขึ้นทะเบียนที่ไหนบ้าง

ในการขึ้นทะเบียนโดรนนั้น จะต้องขึ้นทะเบียนกับ กสทช. (เปรียบเสมือนทะเบียนรถ) และกรมการบินพลเรือน (เหมือนทำใบขับขี่) ไม่เช่นนั้นจะมีโทษปรับตามกฎหมาย โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ ดังนี้

เอกสารการขึ้นทะเบียนกับ กสทช.

  1. คำขอขึ้นทะเบียน เครื่องวิทยุคมนาคม

  2. สำเนาบัตรประชาชน

  3. ภาพถ่ายตัวลำของโดรน (ปริ้นท์ใส่กระดาษมา)

เอกสารการขึ้นทะเบียนกับกรมการบินพลเรือน

  1. คำขอขึ้นทะเบียน ผู้บังคับหรือปล่อย Drone

  2. สำเนาบัตรประชาชน

  3. สำเนาทะเบียนบ้าน

  4. ใบกรมธรรม์ของประกันภัยอุบัติเหตุของโดรนต่อบุคคลที่ 3 มีวงเงินประกันไม่ต่ำกว่า 1,000,000 บาท

สรุป: ต้องไปขึ้นทะเบียนทั้ง 2 หน่วยงาน ขึ้นทะเบียนกับ กสทช อย่างเดียวในทางกฎหมายยังไม่สามารถนำโดรนขึ้นบินได้ ต้องไปขึ้นทะเบียนหรือทำใบขับขี่โดรนที่กรมการบินพลเรือนด้วย

ขึ้นทะเบียนโดรนมีค่าใช้จ่ายไหม

ค่าธรรมเนียมการลงทะเบียนโดรนทั้ง 2 หน่วยงานนั้นไม่มีครับ แต่จุดสำคัญจะอยู่ตรงที่การลงทะเบียนกับกรมการบินพลเรือนจะต้องมีประกันภัยอุบัติเหตุของโดรนด้วย เหมือนการทำประกันรถยนต์ ซึ่งการที่จะได้กรมธรรม์มานั้นแน่นอนว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายให้กับบริษัทประกันภัย

ที่มา: สำนักงานการบนพลเรือนแห่งประเทศไทย

การซื้อประกันโดรนนั้นมีความสำคัญมาก เพราะนอกจากจะใช้เป็นหลักฐานในการขึ้นทะเบียนโดรนกับกรมการบินพลเรือนแล้วนั้น ยังให้ความคุ้มครองต่ออุบัติเหตุ การเสียชีวิต ค่ารักษาพยาบาล และทรัพย์สินเสียหายที่เกิดจากโดรน

เอกสารในการสมัครประกันภัยโดรน

  1. ใบคำขอเอาประกันภัยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน (โดรน)

  2. บัตรประชาชนผู้บังคับโดรน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

  3. สำเนาหนังสือรับรองบริษัทและใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 20) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง กรณีนิติบุคคล

  4. หลักฐานการชำระเงิน

  5. แจ้งที่อยู่จัดส่งกรมธรรม์

  6. รูปถ่ายโดรน เห็น Serial Number ชัดเจน

สนใจทำประกันภัยโดรน ติดต่อ: @prakan4u หรือคลิก >> https://lin.ee/j6sBItE

#ประกันภัยโดรน #DroneInsurance

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้