การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง (Marine and Transportation Insurance)

ประกันภัยขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Marine Cargo Insurance)

การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง หมายถึง การประกันภัยที่คุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายต่อเรือและทรัพย์สินหรือสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งทางทะเล และยังขยายขอบเขตความคุ้มครองไปถึงความเสียหายขณะขนส่งสินค้าทางอากาศ ทางบก หรือทางรถไฟ ซึ่งต่อเนื่องกับการขนส่งทางทะเลด้วย

การประกันภัยสินค้าระหว่างการขนส่งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งโดยวิธีใดมักจะเรียกรวมกันว่าการประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเล ซึ่งการทำประกันภัยขนส่งสินค้านั้นจะใช้กรมธรรม์ประกันภัยขนส่งทางทะเลในการรับประกันภัยทั้งสิ้น แม้ว่าสินค้านั้นจะบรรทุกโดยทางรถยนต์ หรือทางอากาศก็ตาม

ภัยที่คุ้มครองและเงื่อนไขความคุ้มครองในกรมธรรม์

1. ภัยทางทะเล (Peril of the sea) ภัยที่เกิดจากเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดการณ์ล่วงหน้าได้ อาจเกิดจากภาวะผิดปกติของคลื่นลมในทะเลตามธรรมชาติ หรืออุบัติเหตุจากการสัญจรทางทะเล เช่น ภัยจากพายุ, มรสุม, เรือจม, เรือชนกัน, เรือเกยตื้น หรือเรือชนหินโสโครก
2. อัคคีภัย (Fire) ความเสียหายที่เกิดจากเพลิงไหม้ ภัยระเบิด ฟ้าผ่า หรือเกิดจากการลุกไหม้ของปฏิกิริยาเคมีตามธรรมชาติของสินค้า
3. การทิ้งทะเล (Jettisons) ภัยที่เกิดจากการนำเอาสิ่งของหรือสินค้าในเรือทิ้งลงทะเล เพื่อให้เรือเบาลง ช่วยให้เรือพ้นจากภัยทางทะเล และสามารถเดินทางต่อไปยังจุดหมายปลายทางได้โดยปลอดภัย
4. โจรกรรม (Thieves) ภัยที่เกิดจากการโจรกรรมโดยโจรสลัด ซึ่งมีการกระทำอย่างรุนแรงด้วยการใช้กำลัง เพื่อช่วงชิงทรัพย์หรือสินค้าที่ทำการขนส่ง
5. การกระทำโดยทุจริตของคนเรือ (Barratry) ภัยที่เกิดจากการกระทำโดยมิชอบของคนเรือ มีเจตนากลั่นแกล้งทุจริต ตั้งแต่นายเรือจนถึงลูกเรือในอันที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินหรือสินค้าที่ทำการขนส่งในเรือ ซึ่งการกระทำนั้นเจ้าของทรัพย์ต้องไม่มีส่วนรู้เห็นเป็นใจ
6. ภัยอื่นๆ (Other Peril) ภัยที่นอกเหนือจากข้อ 1-5 ซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติมจะต้องชำระเบี้ยประกันภัยในอัตราที่สูงขึ้น เช่น ต้องการความคุ้มครองภัยสงครามเพิ่มเติม** เป็นต้น

**Special Hazard Policy หมายถึง กรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองเป็นพิเศษ ซึ่งโดยปกติกรมธรรม์จะไม่ให้ความคุ้มครองไว้ ได้แก่ ภัยสงคราม การนัดหยุดงาน การจลาจล และการวุ่นวายในประเทศ หากต้องการให้มีความคุ้มครองภัยเหล่านี้ ผู้เอาประกันภัยจะต้องตกลงกับบริษัทก่อนทำสัญญา โดยเสียเบี้ยประกันสำหรับภัยเหล่านี้เพิ่มเติม สำหรับภัยสงคราม (War) จะให้ความคุ้มครองเฉพาะเมื่อสินค้าอยู่บนเรือ และให้ความคุ้มครองเพิ่มอีก 15 วัน ณ ท่าปลายทาง หลังจากเรือสินค้ามาถึง หากไม่สามารถขนถ่ายสินค้าลงได้

แบบกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
แบบกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลที่ใช้กับธุรกิจประกันภัยในประเทศต่างๆ ทั่วโลก มีข้อกำหนดเงื่อนไขความคุ้มครอง 2 รูปแบบ คือ แบบ S.G. Form และ แบบ MAR Form

ความคุ้มครองแบบ S.G. Form
S.G. Form (Ship and Goods) เป็นความคุ้มครองการประกันภัยทางทะเลแบบเดิมที่ใช้กันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1779 มีอยู่ 3 แบบ ดังนี้

1.1 แบบเงื่อนไข F.P.A (Free of Particular Average)
การประกันภัยตามเงื่อนไขนี้ให้ความคุ้มครองแคบที่สุด โดยบริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะเมื่อสินค้าได้รับความเสียหายโดยสิ้นเชิง (Total Loss) เท่านั้น ถ้าสินค้าได้รับความเสียหายเพียงบางส่วน (Partial Loss) จะไม่ได้รับการชดใช้
1.2 แบบเงื่อนไข W.A (With Average)
การประกันภัยตามเงื่อนไขนี้ให้ความคุ้มครองความเสียหายโดยสิ้นเชิง และความเสียหายบางส่วนด้วย แต่ความเสียหายบางส่วนนี้จะต้องไม่ต่ำกว่า 3% ของมูลค่าทรัพย์สินที่เอาประกันภัย
1.3 แบบเงื่อนไข All Risks
เป็นเงื่อนไขความคุ้มครองที่กว้างที่สุด ให้ความคุ้มครองความเสียหายทั้งความเสียหายสิ้นเชิง และความเสียหายบางส่วน โดยไม่จำกัดเปอร์เซ็นต์ความสูญเสีย อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขความคุ้มครองแบบนี้ จำกัดความเสียหายทางกายภาพต่อสินค้าเท่านั้น และสาเหตุต้องมาจากเหตุการณ์ภายนอก ความเสียหายที่เกิดจากลักษณะอันเป็นการเสื่อมสภาพของตัวสินค้าเอง เช่น ผัก ผลไม้ที่บูดเน่าเองตามธรรมชาติ จะไม่ได้รับความคุ้มครอง นอกจากนี้แล้ว การล่าช้า และการสูญเสียตลาด (เช่น เรือใช้เวลาเดินทางนานผิดปกติกว่าจะถึงปลายทาง ทำให้สินค้าราคาตก เมื่อถึงปลายทาง เพราะไม่ทันกับฤดูการขาย เป็นต้น) ก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง

ความคุ้มครองแบบ MAR Form
 

การประกันภัยขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ให้ความคุ้มครองความสูญเสีย หรือเสียหายของสินค้าที่ขนส่งตั้งแต่เริ่มออกจากต้นทาง จนกระทั่งสิ้นสุดเมื่อนำส่งสินค้าไปยังผู้รับมอบปลายทาง ตามเงื่อนไขสัญญาซื้อขาย (Incoterms) โดยต้องเกิดจากภัยที่ได้ระบุ

ประกันภัยขนส่งสินค้าภายในประเทศ (Inland Cargo Insurance)

ให้ความคุ้มครองสินค้าระหว่างการขนส่ง ของผู้เอาประกันภัยที่เป็นเจ้าของสินค้า จากความสูญเสีย หรือเสียหายระหว่างการขนส่งภายในราชอาณาจักรไทย โดยยานพาหนะที่จดทะเบียนใช้บนท้องถนน โดยรถไฟ โดยเครื่องบิน โดยเรือ
  • กรมธรรม์ประกันภัยสินค้าที่ขนส่งภายในประเทศ (แบบระบุภัย)
  • กรมธรรม์ประกันภัยสินค้าที่ขนส่งภายในประเทศ (แบบคุ้มครองความเสี่ยงภัยทุกชนิด)

ประกันภัยความรับผิดของผู้ขนส่ง (Carrier’s Liability Insurance)

ความสูญหายหรือเสียหายของหรือสินค้าที่ผู้เอาประกันภัยรับจ้างขนซึ่งผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบ (กฎหมาย พรบ.ขนส่ง) หรือตามสัญญาว่าจ้างที่ได้การตกลงกันไว้ยกเว้นภัยธรรมชาติ
วิริยะ ประกันภัย
กรุงเทพประกันภัย
คุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย
เมืองไทยประกันภัย

ประกันภัยตัวเรือและเครื่องจักร (Marine Hull & Machinery Insurance)

1. Institute Time Clauses- Hulls Total Loss Only (Including Salvage, Salvage Charges, Sue and Labour)
ให้ความคุ้มครองเรือและเครื่องจักรที่ติดตั้งอยู่ในเรือที่เอาประกันภัยที่ได้รับความสูญเสียทั้งหมดอันเนื่องมาจากไฟไหม้ระเบิดชนกัน จม รวมทั้งการกู้ซากเรือ หรือค่าใช้จ่ายในการกู้ซากเรือ หรือค่าใช้จ่ายในการบรรเทาภัย(CL.289)
2. Institute Time Clauses - Hulls Total Loss Only, General Average, Collision Liability (Including Salvage, Salvage Charges, Sue and Labour)
ให้ความคุ้มครองเรือและเครื่องจักรที่ติดตั้งอยู่ในเรือที่เอาประกันภัย ที่ได้รับความสูญเสียทั้งหมดอันเนื่องมาจากไฟไหม้ระเบิด ชนกัน จมความเสียหายร่วม และความรับผิดต่อคู่กรณีเนื่องจากเรือชนกัน รวมทั้งการกู้ซากเรือ หรือค่าใช้จ่ายในการกู้ซากเรือ หรือค่าใช้จ่ายในการบรรเทาภัย(CL.284)
3. Institute Time Clauses - Hulls
ความคุ้มครองเหมือนกับ ข้อ (1) + (2) รวมถึงค่าซ่อมเรือที่เอาประกันภัย (CL.280)
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้