สิทธิขั้นพื้นฐานในการรักษามะเร็งที่หลายคนยังไม่รู้ !!!

Last updated: 27 มี.ค. 2565  |  1589 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สิทธิขั้นพื้นฐานในการรักษามะเร็งที่หลายคนยังไม่รู้

ถ้ารู้ว่าตัวเองเป็นมะเร็ง สิ่งที่หลายคนกังวลรองลงมาจากกลัวไม่ได้อยู่กับคนที่รักก็คือ เรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษามะเร็งใช่มั้ย เพราะรู้ๆ กันอยู่ว่ามะเร็งเป็นโรคเรื้อรัง รักษายาก กว่าจะรักษาให้หายกันได้ ยิ่งนานก็ยิ่งให้เงินเยอะ ไหนจะมีค่าผ่าตัด ค่ายา ค่าโน่น นั่น นี่ เยอะจนต้องยืมนิ้วคนข้างๆ มานับ บางรายก็ต้องใช้เงินเป็นล้านๆ แต่เดี๋ยวก่อน อย่าเพิ่งกังวลไป…จริงๆ แล้วคนไทยทุกคนได้รับสิทธิการรักษามะเร็งจากรัฐด้วยนะ ซึ่งสิทธิที่ว่าครอบคลุมอะไรบ้าง และมีเงื่อนไขอะไรยังไงในการใช้สิทธินี้ เรานำข้อมูลมาฝากกันที่นี่แล้ว

สิทธิการรักษามะเร็งของคนไทย แบ่งสิทธิ ดังนี้

1. สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ: คุ้มครองบริการรักษาพยาบาลของข้าราชการและครอบครัวโดยสามารถเข้ารักษาตัวได้ในโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง

2. สิทธิประกันสังคม: คุ้มครองบริการรักษาพยาบาลของเจ้าของสิทธิ (ผู้ประกันตน) สามารถเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลที่เลือกลงทะเบียนไว้

โรคมะเร็งอยู่ 10 ชนิด ที่สามารถใช้สิทธิประกันสังคมรักษาได้ โดยไม่ต้องจ่ายเอง คือ

1. โรคมะเร็งเต้านม

2. โรคมะเร็งปากมดลูก

3. โรคมะเร็งรังไข่

4. โรคมะเร็งโพรงจมูก

5. โรคมะเร็งปอด

6. โรคมะเร็งหลอดอาหาร

7. โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งลำไส้ส่วนปลาย

8. โรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี

9. โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

10. โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

3. สิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท: ผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิตาม 2 ข้อด้านบน หรือสิทธิสวัสดิการรัฐวิสาหกิจหรือสิทธิอื่นๆ จากรัฐ สามารถเข้ารักษาตัวได้ในสถานีอนามัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และ โรงพยาบาลรัฐ

สิทธิรักษามะเร็งขั้นพื้นฐานคอยดูแลเราดังนี้

1. การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง ตามที่แพทย์สั่ง

2. การรักษาอาการทั่วไปและการรักษาเฉพาะทาง เช่น การผ่าตัด การฉายแสง การให้ยาเคมีบำบัด

3. การดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน (Palliative Care)

4. วัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (เฉพาะผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด)

ถ้าเราป่วยเป็นมะเร็งยังไงรัฐก็ช่วยดูแลเรา รู้แบบนี้ก็เบาใจเหมือนกัน แต่สิทธิขั้นพื้นฐานที่เราได้รับมานั้นก็ไม่ได้ครอบคลุมทุกอย่าง ถึงแม้สิทธิ 30 บาท และสิทธิประกันสังคมจะครอบคลุมขั้นตอนการรักษามะเร็ง แต่ก็ไม่ได้ครอบคลุมถึงการให้ใช้ยา 6 ชนิด ที่สำคัญต่อการรักษามะเร็งต่างๆ ได้แก่ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง มะเร็งกระเพาะอาหารและลำไส้ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งยา 6 ชนิดที่ว่านั้นเป็นยาที่มีประสิทธิผลดี ผู้ป่วยที่ได้ยาในกลุ่มนี้จะมีอัตรารอดชีวิตสูง แต่น่าเสียดายที่เป็นยาที่อยู่นอกบัญชียาหลัก ทำให้สิทธิการรักษามะเร็งขั้นพื้นฐานไม่คลุมค่าใช้จ่ายยารักษามะเร็งในส่วนนี้

ตัวอย่างส่วนที่สิทธิการรักษามะเร็งพื้นฐาน “ไม่ครอบคลุม”

⁠-⁠ เบิกจ่ายยานอกแนวทางการรักษาโรคมะเร็งได้ แต่ไม่เกิน 4,000 บาท

⁠- ไม่ครอบคลุมการรักษาตามแนวทางใหม่ ๆ

⁠-⁠ มะเร็งนอกเหนือ 10 ชนิด ที่ต้องให้เคมีบำบัดหรือรังสี รักษา และยารักษาโรคมะเร็ง ประกันสังคมจะจ่ายค่ารักษาเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 15,000 บาท/ราย/ปี

⁠-⁠ ไม่ครอบคลุมยามุ่งเป้า (Targeted therapy)

- ไม่ครอบคลุมยาเคมีบำบัดบางตัวที่มีราคาแพงหรือการรักษาที่มีคุณภาพสูงกว่ามาตรฐาน

ถึงแม้คนไทยทุกคนจะมีสิทธิพื้นฐานที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการรักษามะเร็ง แต่ก็ต้องยอมรับว่าถ้าเราต้องการรูปแบบการรักษาที่ดีกว่ามาตรฐานทั่วไป เราอาจจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ด้วยตัวเอง เพราะฉะนั้นเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมค่าใช้จ่ายในเรื่องนีที่อาจจะเกิดขึ้นกับเราเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ การทำประกันมะเร็งในวันที่ยังแข็งแรงดี อาจจะเป็นสิ่งที่เราควรพิจารณาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

มะเร็ง + รู้จักสิทธิ = ผ่อนหนักเป็นเบา

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้