Last updated: 27 มี.ค. 2565 | 2926 จำนวนผู้เข้าชม |
เป็นอีกคำถามที่พบได้บ่อยสำหรับผู้สนใจสมัครทำประกันสุขภาพ ผู้คนจำนวนไม่น้อยที่เริ่มสนใจการทำประกันสุขภาพก็ต่อเมื่อไปตรวจพบโรคหรือสภาวะผิดปกติบางอย่างของร่างกายแล้ว ในเบื้องต้น ประกันสุขภาพจะไม่คุ้มครองโรคเรื้อรัง หรือโรคที่เป็นมาก่อนทำประกันแล้วยังไม่ได้รักษาให้หายก่อนวันสมัคร ดังนั้น หากเราเป็นโรคมาก่อนอาจจะทำให้สมัครทำประกันไม่ผ่าน หรืออาจจะมีเงื่อนไขในการรับประกันเพิ่มเติม
การทำประกัน คือการทำข้อตกลงระหว่างบริษัทประกันและผู้ซื้อประกันในการยอมรับความเสี่ยงระหว่างกัน และโรคประจำตัวของผู้ซื้อประกันนั้น คือ ความเสี่ยงที่บริษัทประกันจะต้องยอมรับ หากบริษัทนั้นรับประกันไปเรียบร้อยแล้ว
หากปัญหาสุขภาพหรือโรคที่เราเป็นมาก่อนไม่ได้ร้ายแรง เช่น ภูมิแพ้เล็กน้อย กรดไหลย้อน เป็นไข้ ท้องเสีย ทั่วไปแล้วรักษาหายแล้ว บริษัทก็จะพิจารณาอนุมัติด้วยเกณฑ์ปกติ แต่ถ้าหากสุขภาพเราไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ปกติ บริษัทอาจแจ้งข้อเสนอใหม่ให้เราพิจารณา ได้แก่
ให้ความคุ้มครองทุกโรคแบบคนปกติ แต่ขอเพิ่มเบี้ยประกันตามความเสี่ยงที่เพิ่มมากกว่าคนทั่วไป
อนุมัติความคุ้มครองโรคอื่นๆ แต่ยกเว้นโรคที่เป็นมาก่อนทำประกันและโรคที่เกี่ยวเนื่องจากภาวะที่เป็นมาก่อนทำประกัน
ขอเลื่อนการรับประกัน เนื่องจากผู้ขอเอาประกันพึ่งหายจากการรักษาตัว หรือการผ่าตัด บริษัทอาจต้องการให้ผู้เอาประกันมีอาการคงที่ก่อนค่อยมาขอสมัครทำประกันใหม่ โดยอาจจขอเลื่อนไป 6 เดือน – 1 ปี
ปฏิเสธการรับประกัน หากโรคหรือภาวะที่ผู้ขอเอาประกันนั้นเป็นแบบรุนแรง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งมีความเสี่ยงมากเกินกว่าที่บริษัทจะรับประกันได้
อย่างไรก็ตาม การพิจารณารับประกันในกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวนั้น จะมีความแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของโรคที่เป็นและการปฏิบัติตัวของผู้สมัครทำประกัน
ยิ่งโรคนั้นควบคุมได้ดี ไม่มีภาวะแทรกซ้อน รวมถึงผู้สมัครทำประกันเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ก็จะช่วยให้ความเสี่ยงต่อชีวิตและสุขภาพลดลง
แต่หากโรคนั้นควบคุมได้ไม่ดี เริ่มมีการเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ หรือ ผู้สมัครทำประกันนั้นไม่ได้เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้ความเสี่ยงนั้นเพิ่มขึ้น
ดังนั้นการพบแพทย์ตามคำแนะนำ และดูแลสุขภาพของตนเองให้ดีตลอดเวลา ถึงแม้จะมีโรคประจำตัวก็สามารถทำประกันได้นะครับ
“อย่าให้โรคประจำตัว เป็นอุปสรรคของการทำประกันสุขภาพ” ทำประกันตอนที่สุขภาพยังดีอยู่ ย่อมดีกว่าครับ
7 พ.ค. 2565
25 มิ.ย. 2564
23 มิ.ย. 2564
12 ก.ค. 2564