Last updated: 27 มี.ค. 2565 | 865 จำนวนผู้เข้าชม |
จากจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทยที่มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบันเกิดภาวะเตียงตึง และเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง จึงทำให้เกิดระบบการรักษาที่เรียกว่า ระบบ Home Isolation (การแยกกักตัวที่บ้าน) และ Community Isolation (การแยกกักตัวในชุมชน)
แต่ก่อนที่ผู้ป่วยจะเข้าสู่ระบบดังกล่าวได้ จะต้องมีการประเมินข้อมูลของการติดเชื้อโควิด-19 ก่อนว่า มีอาการอยู่ในระดับไหน เข้าข่ายการเป็นผู้ป่วยในระดับสีใด จากศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ เพื่อแบ่งกลุ่มการรักษา ซึ่งปัจจุบันมีการแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 ระดับสี ดังนี้
1. ระดับอาการสีเขียว คือ อาการเบื้องต้นของผู้ป่วยที่เริ่มติดโควิด-19 มีอาการเหมือนเป็นไข้หวัดปกติ หรือไม่มีอาการ
2. ระดับอาการสีเหลือง คือ ผู้ป่วยโควิด-19 เริ่มจะมีอาการ มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือโรคร่วมสำคัญข้อใดข้อหนึ่ง แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวกขณะทำกิจกรรม หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก เวลาไอแล้วเหนื่อยอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ปอดอักเสบ ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน ร่วมกับอาการหน้ามืด วิงเวียน
3. ระดับอาการสีแดง คือ ผู้ป่วยโควิด-19 อาการหนัก หอบเหนื่อย พูดไม่เป็นประโยคขณะสนทนา แน่นหน้าอกตลอดเวลา หายใจแล้วเจ็บหน้าอก ต้องรีบเข้ารับการเอกซเรย์ปอด
หลังจากที่มีการประเมินอาการเรียบร้อย หากผู้ป่วยคนไหนที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการไม่มาก ก็จะถูกแบ่งกลุ่มมารักษาในระบบ Home Isolation และ Community Isolation ตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ (asymptomatic cases)
2. มีอายุไม่เกิน 60 ปี
3. มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
4. อยู่คนเดียว หรือมีผู้อยู่ร่วมที่พักไม่เกิน 1 คน
5. ไม่มีภาวะอ้วน (ภาวะอ้วน : BMI ≥ 25 กก./ม.2 หรือ BW > 90 กก.)
6. ไม่มีโรคร่วม เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ,โรคไตเรื้อรัง ,โรคหัวใจและหลอดเลือด ,โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวานที่คุมไม่ได้ เป็นต้น
7. ยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง
1. ประเมินผู้ติดเชื้อตามดุลยพินิจของแพทย์
2. ลงทะเบียนผู้ติดเชื้อที่เข้าเกณฑ์
3. แนะนำการปฏิบัติตัวให้กับผู้ติดเชื้อ
4. ติดตามและประเมินอาการผู้ติดเชื้อ โดยให้ผู้ติดเชื้อวัดอุณหภูมิและระดับออกซิเจนในเลือด และให้แจ้งสถานพยาบาลทุกวัน
5. มีระบบรับ-ส่งผู้ป่วยไปสถานพยาบาล หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง
1. ประเมินสถานการณ์และความพร้อมโดยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และเจ้าหน้าที่ และเจ้าของสถานที่ หรือชุมชน
2. บอกจำนวนและระดับอาการของผู้ติดเชื้อ
3. บอกจำนวนและระดับอาการของ PUI (ลักษณะอาการของผู้ป่วย)
4. จำนวนผู้สัมผัสเสี่ยงสูง
5. สถานที่ตั้ง
6. สภาพแวดล้อม
1. เป็นหมู่บ้านหรือแคมป์คนงาน
2. ชุมชนยินยอมรับผู้ติดเชื้อ
3. สามารถจัดบริการดูแลผู้ติดเชื้อได้ไม่เกิน 200 คน
4. จัดตั้งศูนย์ติดตามอาการผู้ป่วยได้ตลอด 24 ชั่วโมง
5. สามารถส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลได้(หากมีอาการรุนแรง)
6. มีสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ หรือได้รับการปรับปรง เพื่อป้องกันการระบาดออกนอกชุมชน
นอกจากนี้ ในระบบยังจะต้องมีทีมจิตอาสาในชุมชนที่ผ่านการผ่านฝึกอบรม เรียนรู้ถึงขั้นตอน และวิธีการดูแลผู้ป่วย เพื่อเป็นตัวกลางในการประสานงานกันกับทีมแพทย์ และพยาบาล ด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เมื่อมีผู้ป่วยติดเชื้อในชุมชน หรือผู้สัมผัสเสี่ยงสูง จิตอาสาในชุมชนจะทำการคัดกรองเบื้องต้นว่า ผู้ป่วยแต่ละเคสมีความรุนแรงของอาการระดับใด และจะส่งเคส รายละเอียดของผู้ป่วยให้กับทีมแพทย์พยาบาล ซักประวัติ คัดกรองข้อมูล และสอบถามอาการเบื้องต้นของผู้ป่วยผ่านระบบ Telehealth
2. เมื่อส่งข้อมูลของผู้ป่วยและประเมินระดับความรุนแรงของอาการเบื้องต้นจากทีมแพทย์แล้ว หากแพทย์ประเมินอาการของผู้ป่วยว่าอยู่ในระดับสีเขียว ก็จะนำผู้ป่วยเข้าสู่การรักษาในระบบการรักษา Community Isolation ในกรณีที่ผู้ป่วยมีระดับอาการเป็นสีเหลือง (รอเตียง) หรือสีแดง (ต้องเข้ารับการรักษาทันที) ก็จะมีทีมพยาบาลและจิตอาสาประสานงานจัดหาเตียงและส่งต่อผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษาจากหน่วยพยาบาลในเครือข่ายโดยเร็วที่สุด
3. เมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ระบบ จะมีทีมพยาบาลโทรให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวและคอยติดตามอาการผู้ป่วยทุกวันผ่านทางไลน์ และการโทรสอบถามอาการในช่วงเช้า และเย็นทุกวัน เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
4. ชุมชนไหนที่มีผู้ป่วยในระบบ Community Isolation จะมีทีมจิตอาสาของชุมชนบริการส่งอาหาร 3 มื้อ ให้กับผู้ป่วยทุกวัน รวมทั้งถุงยังชีพ ของใช้ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วย จนกว่าจะได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและหายป่วย
5. หากอาการของผู้ป่วยต้องรับยาฟาวิพิราเวียร์ ทีมจิตอาสาจะทำการส่งต่อข้อมูลและรายชื่อผู้ป่วยที่ต้องรับยาให้กับโรงพยาบาลในเครือข่ายโดยเร็วที่สุด โดยการจ่ายยาให้กับผู้ป่วยต้องผ่านทางแพทย์และโรงพยาบาลเท่านั้น เมื่อได้รับยาแล้ว จะมีทีมพยาบาลไปดูอาการ เพื่ออธิบายการใช้ยาที่ถูกต้องให้กับผู้ป่วย ซึ่งในส่วนของยาฟาวิพิราเวียร์นั้น ทาง สปสช. ให้การสนับสนุนและคอยเติมยาให้เพียงพอต่อความต้องการสำหรับผู้ป่วยในระบบ Home Isolation และ Community Isolation
6. จะมีการติดตามอาการจากทีมแพทย์ พยาบาล อย่างใกล้ชิดผ่านทาง Telehealth ตลอดระยะเวลาการรักษา เพื่อสร้างความมั่นใจในกับผู้ป่วย
7. กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง เปลี่ยนจากระดับสีเขียว เป็นสีเหลือ หรือสีแดง ทีมงาน IHRI จะประสานงานกับโรงพยาบาลในเครือข่ายในการจัดหาเตียง เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้ารับการรักษา ซึ่งปัจจุบันมีสถานพยาบาลในหน่วยบริการกรุงเทพมหานคร ที่ตอบรับเข้าร่วมโครงการกว่า 147 แห่ง
ถึงแม้ว่าจะมีระบบ Home Isolation และ Community Isolation รองรับ และแก้ปัญหาเตียงไม่พอที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยอาการหนักและเสียชีวิต แต่ทางที่ดีที่สุด การไม่ประมาท ไม่ไปพื้นที่เสี่ยงที่มีคนเยอะๆ สวมหน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง หมั่นออกกำลังกาย เพื่อให้สุขภาพแข็งแรงถือเป็นเรื่องที่ดีที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก : เว็บ Samyan Mitrtown
17 ต.ค. 2564
7 มี.ค. 2566
11 มิ.ย. 2565