มีน้อยคนที่จะรู้ว่าการฝังเข็มมี 2 ประเภท แบบที่เราน่าจะรู้จักกันมากกว่าคือ การฝังเข็มแบบจีน (Acupuncture) และอีกแบบคือการฝังเข็มแบบตะวันตก (Dry Needling) การเข้าใจความแตกต่างของวิธีการทั้งสองทำให้เราสามารถตัดสินใจได้เบื้องต้นว่าเราเป็นโรคอะไร มีอาการอะไร และเหมาะกับการรักษาแบบไหน
การฝังเข็มแบบตะวันตก หรือฝังเข็มคลายจุด (Dry Needling)
เป็นการฝังเข็มไปยังจุดที่กล้ามเนื้อมีการเกร็งตัวเป็นก้อน ที่มีอาการปวดโดยตรง โดยตำแหน่งดังกล่าว เราเรียกว่า Trigger Point การฝังเข็มลักษณะนี้จะไม่มีการฉีดยาลงไปบริเวณที่ฝังเข็ม จึงเรียกว่า Dry Needling (ฝังเข็มแห้ง) ลดความไวของปลายประสาทที่มาเลี้ยงที่กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อคลาย มีความเกร็งตึงลดลง ทำให้อาการปวดลดลงได้
เน้นการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อของโรคและภาวะผิดปกติ เช่น กลุ่มโรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial Pain Syndrome, MPS) ออฟฟิศซินโดรม บาดเจ็บอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน การบาดเจ็บไม่รุนแรงแต่เรื้อรัง โรคเรื้อรังต่างๆ
การฝังเข็มแบบจีน (Chinese Acupuncture)
เป็นการฝังเข็มไปตามตำแหน่งจุดฝังเข็มบนแนวเส้นลมปราณ (Meridian Line) ทั่วร่างกาย ซึ่งแบ่งออกเป็นเส้นลมปราณหลักและเส้นลมปราณย่อย เพื่อปรับสมดุลร่างกายซี่ให้สมดุลระหว่างหยิน หยาง และรักษาโรค ความผิดปกติ ที่อวัยวะต่างๆ สามารถรักษาโรคได้หลากหลายไม่จำกัดเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อ เอ็นกระดูก ได้แก่ ปวดศีรษะ ไมแกรน ภูมิแพ้ กล้ามเนื้ออ่อนแรง อัมพฤกษ์
สำหรับเข็มที่ใช้จะเป็นเข็มสแตนเลส ไม่เป็นสนิม ขนาดเพียง 0.1-0.3 มิลลิเมตร ซึ่งเล็กกว่าเข็มฉีดยาทั่วไปประมาณ 6-8 เท่า และมีความยาวเพียง 2-3 เซนติเมตร ตัวเข็มไม่กลวง ปลายเข็มไม่ตัดจึงเหมือนเข็มฉีดยา มีความแหลมคมมาก รวมทั้งมีความยืดหยุ่น ไม่หัก หรือเปราะแตกง่าย
สำหรับประเทศไทยนั้น แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูทุกคนสามารถฝังเข็มแบบตะวันตกได้ทุกคน แต่การฝังเข็มแบบจีน จำเป็นต้องมีการศึกษาต่อเฉพาะทางการฝังเข็มแบบจีนต่างหาก
ประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาโดยการแพทย์ทางเลือกแบบฝังเข็ม จะให้ความคุ้มครองการรักษาฝังเข็มแบบจีนเท่านั้น
สนใจทำประกันสุขภาพ